UFABETWIN ยูโร 2022 ภาพสะท้อนของการพัฒนาฟุตบอลหญิงแบบถูกที่ถูกเวลาของยุโรป
หากเราพูดถึงกีฬายอดนิยมของคนทั่วโลกอย่าง “ฟุตบอล” ภาพจำส่วนใหญ่คือการแข่งขันของชายหนุ่มร่างกายแข็งแรง จนแทบจะเรียกได้ว่าเกมลูกหนังคือการแข่งขันที่มีภาพผูกพันกับเพศชายเพียงอย่างเดียวในมุมมองของใครหลายคน
แต่ความเป็นจริงแล้วฟุตบอลคือกีฬาของคนทุกเพศ และผู้หญิงจำนวนมากก็หลงไหลในเกมการแข่งขันชนิดนี้ ไม่ใช่แค่เป็นแฟนบอลแต่มีความฝันในการเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพไม่ต่างจากผู้ชาย
อย่างไรก็ตามในหลายพื้นที่ทั่วโลกประสบปัญหากับการไม่สามารถผลักดันกระแสฟุตบอลหญิงให้ฟีเวอร์และได้รับความนิยมใกล้เคียงกับฟุตบอลชาย หรือแย่ไปกว่านั้นคือแค่เป็นลีกอาชีพก็ยังไม่สามารถทำได้
วงการฟุตบอลหญิงเจอปัญหานี้กันหมดในทุกพื้นที่ทั่วโลก แต่ทุกอย่างมีทางออก และปัจจุบันทวีปยุโรปกำลังไปได้สวยกับการสร้างความนิยมให้กับฟุตบอลหญิง จนทำให้ในตอนนี้กระแสของการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์ยุโรป หรือยูโร 2022 ได้รับความนิยมไปทั่วยุโรป
ยุโรปมีวิธีการอย่างไรในการสร้างฟุตบอลหญิงอาชีพให้ได้รับความนิยมจริง ๆ และอะไรบ้างที่เอเชียต้องเรียนรู้ ติดตามไปพร้อมกับ Main Stand
การแข่งขันระดับชาติต้องมีความหมาย ในยุคแรกเริ่มของฟุตบอลหญิงในยุโรปก็ไม่ต่างจากทุกพื้นที่บนโลกคือเต็มไปด้วยความยากลำบาก ไม่ต้องพูดถึงการสร้างลีกอาชีพ แค่รวมตัวกันให้เป็นทีมจนได้รับการรับรองจากสมาคมฟุตบอลและสามารถส่งแข่งขันในเกมระดับชาติก็มีเพียงแค่ไม่กี่ประเทศที่ประสบความสำเร็จและทำให้เกิดขึ้นได้จริง
ระยะแรกตัวตั้งตัวตีของการสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลของผู้หญิงคือชาติทางยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส และ อิตาลี โดยในปี 1969 สมาคมฟุตบอลอิตาลีเคยยอมตั้งตัวเป็นแม่งาน จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรปของฟุตบอลหญิงขึ้นมา
แม้จะไม่ได้รับการรับรองจาก ฟีฟ่า และ ยูฟ่า แต่การแข่งขันครั้งนั้นก็ได้จัดขึ้น การแข่งขันรายการนั้นแสดงให้เห็นว่าถึงจะเป็นกลุ่มคนเล็ก ๆ แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับวงการฟุตบอลหญิงก็อยากจะผลักดันให้เกมลูกหนังของผู้หญิงเดินหน้าต่อไปได้เช่นกัน
หลังจากนั้นเป็นต้นมาจำนวนนักฟุตบอลหญิงในยุโรปก็เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
ถึงจะไม่ได้มากมายมหาศาลแต่จากเดิมที่เคยลงแข่งขันกันเพียงไม่กี่ประเทศก็เริ่มมีอีกหลายชาติมาเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็น นอร์เวย์, ฟินแลนด์, สวิตเซอร์แลนด์, สกอตแลนด์, เนเธอร์แลนด์
และอีกหลาย ๆ ชาติ จนกลายเป็นการจุดประกาย ที่นำไปสู่การจัดการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์ยุโรปอย่างเป็นทางการโดยยูฟ่าเป็นครั้งแรกในปี 1984
การแข่งขันฟุตบอลยุโรประดับชาติถือเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งแรกที่สร้างกระแสฟีเวอร์ของฟุตบอลไปสู่ผู้หญิง ในแง่ของการสร้างความฝันการเป็นนักฟุตบอล เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมาจำนวนนักฟุตบอลหญิงก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากผู้หญิงที่รักในเกมฟุตบอลได้เห็นเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วว่าพวกเธอจะเป็นนักฟุตบอลได้อย่างไร
ในยุคแรกเริ่มของฟุตบอลหญิง การแข่งขันระดับสโมสรไม่ได้มีความหมายสักเท่าไหร่ ทุกอย่างมุ่งเป้าไปที่ฟุตบอลระดับชาติ ทำให้นักฟุตบอลหญิงต้องฝึกซ้อมและพัฒนาฝีเท้าของตัวเองเพื่อให้ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของชาติ และเพิ่มโอกาสในการคว้าถ้วยแชมป์และคว้าความยิ่งใหญ่จากการแข่งขันต่าง ๆ กลับมา
ผู้หญิงทุกคนที่อยากจะเป็นนักฟุตบอลล้วนมีความฝันอยากจะติดทีมชาติแล้วไปคว้าแชมป์ให้กับประเทศ นั่นจึงทำให้ในยุค 1980s มาจนถึงยุค 1990s การแข่งขันฟุตบอลหญิงระดับทีมชาติได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จนนำมาซึ่งการเกิดมหาอำนาจของวงการลูกหนังหญิงยุโรปนั่นคือ เยอรมัน
แต่เมื่อนักฟุตบอลหญิงมีจำนวนมากขึ้น แค่จะแข่งขันกันเป็นนักฟุตบอลทีมชาติคงไม่พอ พวกเธอก็อยากจะมีพื้นที่ลงเล่นในสนามตลอดทั้งปี และในใจลึก ๆ พวกเธอทุกคนก็อยากจะเป็นนักฟุตบอลอาชีพเหมือนกับผู้ชาย เพราะตลอดหลายปีที่ผ่านมาแข้งทองหญิงต่างแสดงให้เห็นว่าพวกเธอเล่นกีฬานี้ได้ดีไม่ต่างจากผู้ชายแม้แต่น้อย
การก่อตั้งลีกอาชีพที่ไม่ใช่เรื่องง่าย เหตุผลสำคัญที่ทำให้เยอรมันกลายเป็นสุดยอดชาติที่แข็งแกร่งกับฟุตบอลหญิง นั่นเป็นเพราะเยอรมันมีการตั้งลีกอาชีพฟุตบอลหญิงอย่างรวดเร็ว หากย้อนไปในช่วงแรกเริ่มของการสร้างแข้งหญิงอินทรีเหล็กพวกเขาไม่ได้แข็งแกร่งแบบทุกวันนี้ ในทางตรงกันข้ามเขากลับหาชัยชนะแทบไม่เจอ
โชคดีที่เยอรมันเป็นชาติที่ไม่ชอบอยู่ในสถานะผู้แพ้ การพัฒนาคุณภาพของฟุตบอลหญิงในประเทศจึงกลายเป็นวาระใหญ่ จนทำให้ในปี 1984 เยอรมันผุดไอเดียที่จะสร้างลีกฟุตบอลหญิงอาชีพขึ้นมา
แต่จะสร้างขึ้นมาทันทีสำหรับนักฟุตบอลที่ไม่มีความพร้อมในการแข่งขันก็คงไม่มีใครอยากมาสนับสนุน สหพันธ์ฟุตบอลเยอรมัน หรือ เดเอฟเบ จึงทำสิ่งที่สำคัญกว่าการก่อตั้งลีกอาชีพ นั่นคือการปูรากฐานให้นักฟุตบอลหญิงทุกคนในประเทศด้วยการออกแบบหลักสูตรการสร้างนักฟุตบอลแบบพิเศษของเยอรมันขึ้นมา โดยเน้นไปที่การสร้างเบสิกพื้นฐานของนักฟุตบอล เพื่อให้อย่างน้อยเรื่องเบสิกฟุตบอลต่อให้เป็นผู้หญิงลงแข่งขันก็ต้องไม่ต่างจากผู้ชาย
การสร้างคุณภาพให้กับฟุตบอลหญิงในเยอรมันไม่ได้เริ่มต้นแค่การสอนนักฟุตบอลรุ่นปัจจุบันเท่านั้น แต่มีการฝึกสอนให้กับเยาวชนเพื่อเพิ่มจำนวนนักฟุตบอลที่มีความพร้อมที่เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมเยอรมันจะสามารถเริ่มต้นลีกฟุตบอลหญิงระดับอาชีพได้ทันที
ซึ่งทุกอย่างมาออกดอกออกผลใน 5 ปีถัดมา ด้วยการคว้าแชมป์ยุโรปในปี 1989 ที่เป็นสัญลักษณ์ว่าวงการฟุตบอลหญิงเยอรมันมีความพร้อม อีกทั้งการคว้าแชมป์ยุโรปทำให้ชาวเยอรมันต่างเปิดใจแล้วหันมาสนใจฟุตบอลหญิงมากขึ้น นำไปสู่การสร้างลีกอาชีพอย่างเป็นทางการในปี 1990 และกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สร้างความรุ่งเรืองให้กับวงการลูกหนังหญิงเยอรมัน
เยอรมันสามารถหาสูตรสำเร็จที่นำไปสู่ความยิ่งใหญ่ได้ก็จริง
แต่ไม่ใช่ทุกประเทศจะเดินตามในแนวทางนี้ได้ เพราะหลายชาติถึงจะมีลีกฟุตบอลหญิงแต่ก็ไม่ใช่ลีกอาชีพ เพราะมันยังไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับวงการฟุตบอลหญิงได้มากพอที่จะดูดเงินเข้ามาช่วยให้ทุกอย่างเดินต่อไปได้
ยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ ที่สร้างลีกฟุตบอลหญิงในปี 1991 หลังจากเยอรมันแค่ปีเดียวเท่านั้น แต่กว่าฟุตบอลลีกหญิงอังกฤษจะเป็นลีกอาชีพจริง ๆ ในแบบที่นักฟุตบอลทุกคนมีสัญญาอาชีพกลับต้องรอจนถึงปี 2018
วงการฟุตบอลอังกฤษไม่เคยปิดบังเหตุผลเรื่องที่ฟุตบอลหญิงเป็นลีกอาชีพได้ยากว่าเป็นเพราะการไม่มีเงินมากพอมาสนับสนุน เนื่องจากความนิยมของลีกไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับที่เยอรมันสามารถทำได้
ความนิยมจึงกลายเป็นปัญหา สำหรับวงการฟุตบอลหญิงในยุโรป ถ้าประเทศไหนฟุตบอลหญิง สามารถตั้งตัวได้ เช่น ฝรั่งเศส ก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ไม่ยาก แต่ส่วนใหญ่ที่มีปัญหา ไม่ต่างกันก็คือการมีเงินหมุนเวียนในลีกน้อย รวมถึงนักฟุตบอลก็ได้เงินเดือน ที่จำกัด ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาคือปัญหา ของการพัฒนาฟุตบอลหญิง ที่ไปช้ากว่าฟุตบอลชายเป็นอย่างมาก
หากไม่มีกระแสเฟมินิสต์ เราคงไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของวงการฟุตบอลหญิง ในยุโรป แต่เมื่อทั้งตัวนักฟุตบอล ผู้เกี่ยวข้อง ไปจนถึงนักกิจกรรมด้าน ความเท่าเทียมทางเพศได้รณรงค์ ให้เกิดการสร้างความเท่าเทียมที่แท้จริง ผลลัพธ์ที่ตามมาคือการผลักดันฟุตบอลหญิง ให้เป็นลีกอาชีพ อย่างเต็มตัว ทั้งใน อังกฤษ ฝรั่งเศส แล ะอิตาลี
เหตุผลที่ การสร้างลีกอาชีพของผู้หญิงทำได้สำเร็จในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็เพราะการตระหนัก รู้ถึงเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ แฟนบอลจึงเปิดใจ ให้กับฟุตบอลหญิงมากขึ้น และตีตั๋วเข้าไปชมเกมในสนามมากขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจก็เข้ามาสนับสนุนอัดฉีดเงิน เข้าไปมากขึ้น เพราะการได้ภาพว่าเป็นองค์กรที่สนับสนุน ฟุตบอลหญิงในยุโรป ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร เรื่องการสนับสนุน ความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อมีกระแสมากขึ้น วงการฟุตบอลหญิง ในยุโรปก็คึกคักทันตาเห็น โดยเฉพาะ การขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ที่ตามมา โดยลีกฟุตบอลหญิงระดับสูงสุดของประเทศ อย่าง อังกฤษ, เยอรมัน, สเปน, ฝรั่งเศส, อิตาลี และ สวีเดน มีการขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด การแข่งขันออกไป นอกประเทศ